ค้นหาคำศัพท์แบบเร่งด่วน


 

  • ความหมายของคำว่า ' วัตร, วัตร '

    วัตร, วัตร  หมายถึง [วัด, วัดตฺระ] น. กิจพึงกระทํา เช่น ทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็น, หน้าที่เช่น ข้อวัตรปฏิบัติ, ธรรมเนียม เช่น ศีลาจารวัตร; ความประพฤติเช่น พระราชจริยวัตร, การปฏิบัติ เช่น ธุดงควัตรอุปัชฌายวัตร,การจำศีล. (ป. วตฺต; ส. วฺฤตฺต).

advertisement

 

คำที่ใกล้เคียงกัน

  • วัตร, วัตร

    [วัด, วัดตฺระ] น. กิจพึงกระทํา เช่น ทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็น, หน้าที่เช่น ข้อวัตรปฏิบัติ, ธรรมเนียม เช่น ศีลาจารวัตร; ความประพฤติเช่น พระราชจริยวัตร, การปฏิบัติ เช่น ธุดงควัตรอุปัชฌายวัตร,การจำศีล. (ป. วตฺต; ส. วฺฤตฺต).

  • วัตรปฏิบัติ

    [วัดตฺระ] น. การปฏิบัติตามหน้าที่หรือตามศีล.

  • วัตสดร

    [วัดสะดอน] (แบบ) น. โคหนุ่ม, โคถึก. (ส. วตฺสตร).

  • วัตสะ

    (แบบ) น. ลูกวัว; เด็กเล็ก. (ส. วตฺส).

  • วัติ

    [วัด, วัดติ] น. วดี, รั้ว. (ป. วติ).

  • วัทน์

    (แบบ) น. วทนะ. (ป., ส. วทน).

  • วัน ๑

    น. ระยะเวลา ๒๔ ชั่วโมง ตั้งแต่ยํ่ารุ่งถึงยํ่ารุ่ง หรือตั้งแต่เที่ยงคืนถึงเที่ยงคืน เช่น วันเฉลิมพระชนมพรรษาหยุดราชการ ๑ วัน,ระยะเวลา ๑๒ ชั่วโมง ตั้งแต่ย่ำรุ่งถึงย่ำค่ำ,เรียกว่า กลางวัน,มักเรียกสั้น ๆ ว่า วัน, ระยะเวลา ๑๒ ชั่วโมง ตั้งแต่ย่ำค่ำถึงย่ำรุ่งเรียกว่า กลางคืน, มักเรียกสั้น ๆ ว่า คืน, เช่น เขาไปสัมมนาที่พัทยา๒ วัน ๑ คืน, ช่วงเวลากลางวัน เช่น เช้าขึ้นมาก็รีบไปทำงานทุกวัน;(กฎ) เวลาทําการตามที่ได้กําหนดขึ้นโดยกฎหมาย คําสั่งศาล หรือระเบียบข้อบังคับ หรือเวลาทําการตามปรกติของกิจการนั้นแล้วแต่กรณี (ใช้ในทางคดีความ ในทางราชการ หรือทางธุรกิจการค้าและการอุตสาหกรรม).

 


พจนานุกรมไทย-ไทย ออนไลน์

จุดประสงค์ของเว็บ เพื่อสนับสนุนการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องตามความหมายของแต่ละคำ ขอบคุณข้อมูลจาก พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒